เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

57
กถาวัตถุ 3

1. กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ล่วงไปแล้ว ได้มีแล้วอย่างนี้ ปรารภกาลส่วนอดีต
2. กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ยังมาไม่ถึง จักมีอย่างนี้ ปรารภกาลส่วนอนาคต
3. กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าบัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้ ปรารภกาล
ส่วนปัจจุบันนี้

58
วิชชา1 3

1. วิชชาคือปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความหยั่งรู้ที่ทำให้ระลึกชาติก่อนได้)
2. วิชชาคือจุตูปปาตญาณ (ความหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย)
3. วิชชาคืออาสวักขยญาณ (ความหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย)

59
วิหารธรรม(ธรรมเป็นเครื่องอยู่) 3

1. ทิพพวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทพ)
2. พรหมวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม)
3. อริยวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ)

60
ปาฏิหาริย์2 3

1. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์)
2. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ)
3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนี)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/60/230-231
2 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/61/234

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :275 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 4

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ 3 ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

สังคีติหมวด 3 จบ

สังคีติหมวด 4

[306] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ 4 ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมหมวดละ 4 ประการ คืออะไร
คือ

1
สติปัฏฐาน1(ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ) 4
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
3. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ที.ม. (แปล) 10/372/301, องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/274/390

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :276 }